‘เบาหวาน’ หนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD’s ที่ทั่วโลกมีคนที่เป็นโรคนี้สูงถึง 463 ล้านคน และ WHO หรือองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี 2045 จะมีคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มถึง 629 ล้านคน ส่วนประเทศไทยก็เช่นกันมีแนวโน้มของจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละประมาณ 3 แสนคน
“โรคเบาหวาน” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย โดยมีสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้สูงถึง 200 ราย/วัน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
ด้วยเหตุผลนี้เองผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกเหนือจากการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์แล้ว อาจจะต้องเลือกรับประทานอาหารอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะอาหารที่ต้องดีต่อสุขภาพ และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และอาจใช้สารอาหารเพื่อช่วยดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเช่น แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid) วิตามินบี 1-6-12 สารสกัดจากขมิ้นชัน และ เวย์โปรตีนสำหรับคนเป็นเบาหวาน
การดูแลร่างกายของคนเป็นเบาหวาน
การปฏิบัติตัวและดูแลร่างกายตัวเองสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาจจะต้องมีความเข้มงวดเช่นเดียวกับโรค NCD’s อื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานต่างๆ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร การพักผ่อน และการออกกำลังกาย ความดันโลหิต ไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ที่สำคัญมากคือ ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยหลักปฏิบัติของคนเป็นเบาหวานมี 12 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
จำกัดปริมาณในการรับประทานอาหารประเภทแป้ง
เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท งดรับประทานข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสี
ต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ และตรงเวลา
รับประทานผักและผลไม้สดให้มากขึ้น สำหรับผลไม้ต้องเลือกผลไม้ที่หวานน้อย
ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
จำกัดปริมาณในการรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนัง
ออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
รับประทานยา หรือฉีดยาตามคำสั่งแพทย์
งดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือจำกัดการรับประทานให้น้อยที่สุด
การรับประทานอาหารมัน อาหารเค็ม ของทอด และอาหารแปรรูป
งดการบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สารอาหารสำคัญที่จำเป็นสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากหลักในการปฏิบัติตัว เช่น การเข้มงวดในการรับประทานอาหาร การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเสริม
1. แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid)
กรดอัลฟ่า ไลโปอิด แอซิด (Alpha Lipoic Acid) ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาลที่ออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย (Universal antioxidant) สามารถละลายได้ทั้งไขมันและน้ำ มีผลวิจัยจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า กรดแอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid) มีประโยชน์สามารถที่จะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวานได้ เช่น อาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในอาหารธรรมชาติสามารถพบกรดชนิดนี้ได้ใน บล๊อกโคลี่ ผักป๋วยเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และน้ำมันรำข้าว เป็นต้น เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีจึงมีสรรพคุณในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะไปเพิ่มความไวของอินซูลิน และลดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยว่ามีส่วนช่วยลดอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย
2. วิตามินบี 1-6-12
อาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้าจากปลายประสาทอักเสบ ถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากในคนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ทำให้เยื้อหุ้มประสาทถูกทำลาย และร่างกายขาดวิตามินบี 1-6-12 ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสัญญาณสื่อประสาท
ดังนั้นวิตามินบี 1-6-12 จึงเป็นวิตามินที่สามารถรักษาอาการชาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถรักษาอาการชาจากปลายประสาทอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกวิตามินบี 12 ที่เป็นรูปแบบเมทิลโคบาลามินปริมาณสูง (500 ไมโครกรัม) ควบคู่กับการรักษาอาการชาที่ต้นเหตุด้วยการรับสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง
3. สมุนไพรขมิ้นชัน
'ขมิ้นชัน' สมุนไพรมากประโยชน์ ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี มีสารสำคัญคือเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการอักเสบตามข้อ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
โดยมีผลการวิจัยว่าสารสกัดจากขมิ้นชันมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ระบบการทำงานของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และทำให้ระดับน้ำตาลสะสมของผู้ที่เป็นเบาหวานลดลง ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมในการผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ในรูปแบบของไฟโตโซมที่ช่วยให้การละลายและการดูดซึมสารเคอร์คูมินอยด์ดีมากขึ้น โดยทำในรูปแบบไฟโตโซมซึ่งทำให้สารเคอร์คูมินอยด์ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารสกัดแบบธรรมดาทำให้ได้ประสิทธิภาพของเคอร์คูมินอยด์ได้อย่างเต็มที่
4. เวย์โปรตีนสำหรับคนเป็นเบาหวาน
การควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานคือ สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของคนที่เป็นโรคเบาหวานผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้คนที่เป็นโรคนี้รู้จักกับอาหารสูตรทดแทนที่เลือกใช้เวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักโดยเวย์โปรตีนที่ดีสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้คือเป็นโปรตีนคุณภาพดี สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว ย่อยง่าย และไม่ทำให้ท้องอืด นอกจากนี้ยังไปช่วยส่งเสริมการหลั่งอินซูลินซึ่งมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ การเลือกเวย์โปรตีนที่ผลิตขึ้นมาเป็นอาหารสูตรครบถ้วน ที่มีการเพิ่มโปรไบโอติกและพรีไบโอติกส์เข้าไปในสูตร จะสามารถช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้สมดุลและเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มกากใยอาหารหรือพรีไบโอติกส์ในอาหารที่ใช้ทดแทนมื้ออาหารถือว่าเป็นการดูแลลำไส้ใหญ่ได้ดีเช่นเดียวกับการมีโปรไบโอติกส์ในปริมาณสูง เพราะจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ง่ายของผู้ป่วยโรคเบาหวานและสำหรับทุกคน เสริมภูมิต้านทานและให้ประโยชน์ในการปรับสมดุลทางเดินอาหารให้ดีกว่าการไม่กินโปรไบโอติกส์
บริการด้านอาหาร: สารอาหารที่สำคัญสำหรับคนเป็นเบาหวาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/