ผู้เขียน หัวข้อ: เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?  (อ่าน 96 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 306
  • โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน*ได้กระจายสู่การรับรู้สู่ลูกค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น สอบถาม รับจ้างโพสเว็บ
    • ดูรายละเอียด
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ยิ่งในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น สไตล์การใช้ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เราเริ่มทำงานประจำอยู่กับที่มากขึ้น ไม่ค่อยลุกไปไหน เคลื่อนไหวหรือออกแรงกันน้อยลง นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ หรือไขมันในเลือดสูง ล้วนส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ เพื่อประเมินตัวเอง พร้อมทั้งหาแนวทางป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดโอกาสเกิดโรค  และรีบไปรักษาได้ทันเมื่อมีสัญญาณอันตรายเกิดขึ้น


เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดจากสาเหตุใด?

เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด จนเกิดคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบแคบลง หรือเกิดการแตกของคราบไขมัน ทำให้เกิดการปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด หากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ จะทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจลดลง จนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


อาการของภาวะหัวใจขาดเลือด จากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

อาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เส้นเลือดหัวใจตีบ แล้วหัวใจเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ได้แก่

    รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก (มักเป็นที่ลิ้นปี่ หน้าอกตรงกลาง หรือ ร้าวไปหน้าอกซ้าย ก็ได้)
    อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
    บางรายพบว่ามีอาการใจสั่น เหงื่อแตกร่วมด้วย
    วูบ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตเฉียบพลัน

หากมีอาการตามที่กล่าวมานี้ให้รีบมาพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการตรวจ


สาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจมานั้นเกิดจาก

    อายุที่มากขึ้น
    ระดับคอเลสเตอรอลสูง ระดับไขมันในเลือดสูง
    โรคเบาหวาน
    โรคความดันโลหิตสูง
    ภาวะอ้วน
    รวมไปถึงการการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
    มีภาวะเครียด หรือใช้ชีวิตภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดเป็นประจำ
    ขาดการออกกำลังกาย


การป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจสามารถป้องกันได้ จากการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในส่วนที่ควบคุมได้ ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ได้แก่ การรับประทานอาหาร  การออกกำลังกาย การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการงดสูบบุหรี่

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมีระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดสูง หากรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงและห่างไกลจากการเป็นโรคหัวใจได้

สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ ควรได้รับการตรวจคัดกรอง เพื่อ หาปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ที่อาจซ่อนอยู่ แต่ไม่แสดงอาการ
หากมีความเสี่ยงในครอบครัวหรืออายุที่มากขึ้น ให้มาตรวจคัดกรองเป็นประจำ

ปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่อาจควบคุมได้ คือ อายุ พันธุกรรมในครอบครัว สำหรับผู้ชายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 40 ปี และผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 50 ปี อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้

ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือในกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีประวัติครอบครัว มีไขมันในเลือดสูง


นักกีฬาก็อาจมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวนักกีฬาทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน บางคนอาจถึงขั้นเสียชีวิต นำความโศกเศร้าเสียใจในวงการกีฬา

หากใครสนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ กรณีที่เป็นนักกีฬา สามารถศึกษาได้ที่นี่

VO2 max เครื่องมือวัดความฟิตของร่างกาย ที่เหล่านักออกกำลังกายควรรู้ !


การตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

หากผู้ป่วยให้ข้อมูลและรายละเอียดอย่างถูกต้องทั้งประวัติ และอาการที่ปรากฏจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ตรวจร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG) ตรวจเลือด การตรวจคลื่นสะท้อนสียงของหัวใจ (Echocardiogram) การเดินหรือวิ่งสายพาน(Exercise stress testing) หรือตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT angiography)


การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย

ระดับที่ 1 รักษาโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

    เลิกสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
    ลดการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็มจัด
    เพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้ที่ไม่หวานจัด
    ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี

ระดับที่ 2 รักษาโดยการใช้ยา ในผู้ที่มีความเสี่ยง (โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน) หรือ ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบไม่มากที่ยังไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ  ต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ระดับที่ 3 รักษาโดยหัตถการสวนหลอดเลือดหัวใจและหรือใส่ขดลวด (Stent) เข้าไป เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบให้ทำงานได้เป็นปกติ

ระดับที่ 4 รักษาโดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)


สรุป

เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ (และแนวทางป้องกัน) หากพบว่าตัวเองอาจเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ควรศึกษาทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และแนวทางการรักษา เพื่อเตรียมความพร้อม

เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252