ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายสกัด: ยิ่งอายุมากขึ้นสายตายิ่งเปลี่ยน เพราะอะไรกันนะ  (อ่าน 333 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 306
  • โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน*ได้กระจายสู่การรับรู้สู่ลูกค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น สอบถาม รับจ้างโพสเว็บ
    • ดูรายละเอียด
กระชายสกัด: ยิ่งอายุมากขึ้นสายตายิ่งเปลี่ยน เพราะอะไรกันนะ

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ในร่างกายย่อมเริ่มเสื่อมถอยเป็นปกติ สำหรับดวงตานั้น เมื่ออายุเข้าเลข 4 หรือหลังอายุ 40 ปีเป็นต้นไป ปัญหาสายตาต่างๆ จะเริ่มพบมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเสื่อมของร่างกายหรือมีตัวเร่งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ หรือจากโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตายาว (Presbyopia) ที่ทำให้ต้องปรับตัว ตัดแว่นสายตากันใหม่เพื่อให้มองเห็นได้คมชัดเหมือนเดิม รวมไปถึงปัญหาการมองเห็นยอดฮิตอีก 4 กลุ่ม
ปัญหาการมองเห็นยอดฮิต 4 กลุ่ม ได้แก่


1.โรคต้อ 3 ประเภท ได้แก่

1) ต้อกระจก (cataract) ซึ่งเป็นความเสื่อมของเลนส์ตาตามธรรมชาติ

2) ต้อหิน (glaucoma) เป็นโรคที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นทำให้ปวดตาหรือปวดศีรษะ และตาพร่าเมื่อใช้สายตานาน และ

3) ต้อลม เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาขาว เกิดเป็นก้อนเนื้อเล็กๆ หากลุกลามจะกลายเป็นก้อนเนื้อที่บังกระจกตาดำ เรียกว่า ต้อเนื้อ ซึ่งต้อทั้งสามชนิดนั้นหากเป็นมากจะส่งผลบดบังการมองเห็น หรือกรณีของต้อหินอาจทำให้ประสาทตาเสียจนทำให้ตาบอดได้

2. โรคจอประสาทตาเสื่อม (macular degeneration) เป็นปัญหาของจุดรับภาพที่เสื่อมไปตามอายุ หรือเป็นผลมาจากแสงยูวี การสูบบุหรี่ หรือมีระดับความดันโลหิตสูง ทำให้การมองเห็นส่วนตรงกลางภาพนั้นมัวลง และภาพที่เห็นอาจบิดเบี้ยวได้หากเป็นมากขึ้น โดยยังมองเห็นรอบข้างตามปกติ

3. วุ้นในลูกตาเสื่อม ทำให้มองเห็นเป็นจุดดำหรือเส้นลอยไปมาในดวงตา (vitreous floaters) แต่มักไม่มีอันตราย เพียงแต่ก่อความรำคาญ

4. ตาแห้ง (dry eye) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายสร้างน้ำตาไม่เพียงพอ น้ำตาที่สร้างไม่มีคุณภาพ หรือน้ำตาระเหยมากกว่าปกปติ ทำให้ขาดน้ำตาที่จะเคลือบและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาเกิดการระคายเคืองในตาและแสบตา


ปัญหาความผิดปกติของการมองเห็นข้างต้นที่มักพบเมื่ออายุมากขึ้นนั้นอาจมีความรุนแรงได้ตั้งแต่เป็นไม่มาก เช่น คัน ระคายเคืองตา ไปจนถึงทำให้ตาบอดสนิทได้ และในบางโรคอาจเกิดในผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ดังนั้นการดูแลร่างกายให้สมบูรณ์ ควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ และรับประทานอาหาร ผักผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้การทำงานของสายตาเป็นปกติหรือมีฤทธิ์ anti-oxidant หรือฤทธิ์ต้านการอักเสบอาจจึงเป็นส่วนช่วยที่สำคัญในการลดความเสี่ยงของปัญหาการมองเห็นบางอย่างข้างต้น ร่วมไปกับการสำรวจการมองเห็นของตนเองอยู่สม่ำเสมอ และพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและรักษาที่เหมาะสมต่อไป