ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: แผลร้อนใน แผลในปาก  (อ่าน 57 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 305
  • โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน*ได้กระจายสู่การรับรู้สู่ลูกค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น สอบถาม รับจ้างโพสเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: แผลร้อนใน แผลในปาก

แผลในปากอาจทำให้เราเจ็บ กินอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะอาหารร้อนหรือเปรี้ยว ซึ่งอาการแผลในปากเกิดนั้นได้จากหลายสาเหตุ

แผลร้อนใน เป็นแผลในปาก มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี สีขาวหรือออกเหลือง รอบรอยแผลจะแดง มีขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร หรืออาจจะใหญ่ได้ถึง 0.5 - 1 นิ้ว อาจก่อให้เกิดอาการเจ็บและระคายเคืองภายในปากเวลารับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือสนทนา อาการบาดเจ็บในช่องปาก การรับประทานอาหารที่มีความเป็นกรด หรือความเครียดอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผลร้อนใน โดยปกติแล้วแผลร้อนในจะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนมากมักไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่บางครั้งอาจมีแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

แผลร้อนในประเภทต่าง ๆ

    แผลร้อนในทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ 3 - 4 ครั้งต่อปี และหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
    แผลร้อนในแบบซับซ้อน พบได้น้อยกว่า อาจพบในรายที่เป็นแผลร้อนในมาก่อน หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ

แผลร้อนในแตกต่างจากเริมที่ปาก ซึ่งเป็นมักเป็นตุ่มน้ำใสเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex ประเภทที่ 1 หรือ 2 โดยจะขึ้นที่ปากและอวัยวะเพศ และติดต่อได้ผ่านการจูบหรือโอษฐกาม


อาการแผลร้อนใน

แผลร้อนในหนึ่งหรือหลายแผลบนลิ้น กระพุ้งแก้ม ด้านในของริมฝีปาก หรือเพดานปาก โดยแผลจะทำให้รู้สึกปวด แสบร้อน และชา อาจมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวมหากมีอาการรุนแรง


ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรไปพบแพทย์หากเริ่มมีไข้สูง หรือแผลร้อนในมีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ เริ่มลามภายในปาก และทำให้รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ได้


สาเหตุของแผลร้อนใน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการอาจเกิดจาก 

    การรับประทานอาหารที่มีกรด เช่น มะนาว หรือ ส้ม เป็นต้น
    การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน เป็นต้น
    การใส่เหล็กจัดฟันหรือใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดีช่องปาก ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุในปาก
    ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ
    การขาดวิตามินบี 12 เหล็ก สังกะสี และกรดโฟลิก

แผลร้อนในแบบซับซ้อนอาจเป็นผลมาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเอดส์ โรคเบเซ็ต โรคเซลิแอก โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง


การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะทําการตรวจร่างกาย และอาจให้ตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะขาดสารอาหาร หรือปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลร้อนใน


การรักษาแผลร้อนใน

แม้ว่าอาการเจ็บปวดจากแผลร้อนในมักดีขึ้นภายใน 2 - 3 วัน และแผลสามารถหายได้เอง ภายใน 2 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ได้รับรักษาใด ๆ ผู้ป่วยสามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น

    ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก
    ยาชาเฉพาะที่ เช่น Benzocaine ชนิดที่ใช้ภายในปาก
    น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของคลอเฮกซิดีน (chlorhexidine) เดกซาเมทาโซน (dexamethasone) และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide)

สําหรับแผลในปากที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ แพทย์อาจพิจารณาสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ เช่น ดอกซีไซคลีน (doxycycline) โดยหากแผลในปากนั้นรุนแรงมากและรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่หาย แพทย์ทำการจี้แผลด้วยไฟฟ้าเพื่อบรรเทาอาการปวดและทำให้แผลหายเร็วขึ้น


การป้องกันไม่ให้เกิดแผลร้อนใน

การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในปาก

    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
    ทำความสะอาดปากโดยการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เผ็ด หรือมีรสเปรี้ยวจัดเกินไป
    จัดการกับความเครียด